วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

ตอนพิเศษ

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ มาคราวนี้ เราเอาตอนพิเศษมาเสิร์ฟ เป็นบทสัมภาษณ์ค่ะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอูคูเลเล่นี่ล่ะ ลองไปฟังกันดู เผื่อเป็นแง่คิดให้กับแต่ละคนนะ ต้องขอขอบคุณ นายภูมิ เข็มเพ็ชร นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตด้วยค่ะ ที่มาให้ความรู้และแง่คิดดีๆเกี่ยวกับการเล่นดนตรี ขอฝากเนื้อฝากตัวคุณภูมิด้วยนะคะ ^^



เรียนรู้เรื่อง Chord (คอร์ด)

Chord (คอร์ด)
          คอร์ด คือ กลุ่มเสียงโน้ตที่เล่นออกมาพร้อมกัน หรือ กระจายเสียงต่อเนื่องกัน ส่วนใหญ่ใช้โน้ตแบบตัวเว้นตัว (Tertian Harmony)

การสร้างคอร์ดพื้นฐาน
คอร์ดมาจากตัวโน้ตในบันไดเสียง โดยใช้เปรียบเทียบกับ Major Scale ได้ดังนี้

  • Major Chord ประกอบด้วยโน้ตตัวที่ 1 , 3 , 5
  • Minor Chord ประกอบด้วยโน้ตตัวที่ 1 , b3 , 5
  • Diminished Chord ประกอบด้วยโน้ตตัวที่  1 , b3 , b5
  • Augmented Chord ประกอบด้วยโน้ตตัวที่ 1 , 3 , #5

ชื่อคอร์ด และสัญลักษณ์ (Chord Symbol)
ประกอบไปด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ และอักขระหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่นำมาต่อท้าย (Suffix) โดยใช้แบบย่อเพื่อให้กระชับ เช่น

  • คอร์ด Major ไม่ต้องมีสัญลักษณ์ต่อท้าย เช่น C หมายถึง C Major
  • คอร์ด Minor ใช้ " m " หรือ " - " เป็นสัญลักษณ์ต่อท้าย เช่น Cm หรือ C- หมายถึง C Minor
  • คอร์ด Augmented ใช้ " + " เป็นสัญลักษณ์ต่อท้าย เช่น C+ หมายถึง C Augmented
  • คอร์ด Diminished ใช้ " ํ " เป็นสัญลักษณ์ต่อท้าย เช่น Cํ หมายถึง C Diminished

การอ่านคอร์ด
           การอ่านคอร์ดของอูคูเลเล่นั้นมีส่วนคล้ายกับการอ่านคอร์ดของกีต้าร์อยู่บ้าง โดยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อยู่บริเวณโครงสร้างคอร์ดสามารถอ่านได้ดังนี้

  • สัญลักษณ์วงกลม (o) หมายถึง การดีดสายนั้นๆ โดยที่ไม่ต้องกดสาย
  • สัญลักษณ์กากบาท (x) หมายถึง การไม่ต้องดีดที่สายนั้นๆ
  • สัญลักษณ์ 3fr , 5fr , 6fr , ... หมายถึง เฟร็ตเริ่มต้นของคอร์ดนั้นๆ โดยดูจากหมายเลขเฟร็ตที่ระบุไว้ เช่น 3fr คือ ให้เริ่มต้นจับคอร์ดนั้นที่เฟร็ต 3 
  • สัญลักษณ์แทนนัท (Nut) คือ แถบทึบสีดำด้านบนสุด หมายถึง ตารางคอร์ดนั้นเริ่มจากเฟร็ตที่ 1 
  • ตัวเลขที่อยู่ในวงกลม หมายถึง นิ้วที่ใช้ในการกดสายนั้นๆ โดยกำหนดตัวเลขแทนนิ้วมือแต่ละนิ้วดังนี้


ตารางต่อไปนี้แสดงโครงสร้างของคอร์ด ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จรูปในคีย์ C ทำให้ทราบว่าคอร์ดแต่ละคอร์ดประกอบจากโน้ตตัวที่เท่าไร และมีการเปลี่ยนแปลง หรือ เลื่อนเสียงโน้ตอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับ C Major Scale 



ตารางรวมคอร์ดอูคูเลเล่เบื้องต้น 
เอาไว้ฝึกเล่นกันดูนะ ลองจับดูว่าจับถนัดกันมั้ย แต่ไม่ต้องท่องจำทั้งหมดนะ เวลาเล่นไม่ได้เล่นทุกอันหรอก แล้วในหนังสือเพลงก็จะมีคอร์ดให้ดูข้างๆ เพื่อช่วยบอกเราอยู่แล้ว แต่ถ้าใครสามารถจำได้ก็ลุยเลย เราเป็นกำลังใจให้ สู้ๆ^^







วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตัวโน้ตบน Ukulele

ตัวโน้ตบนอูคูเลเล่
ตัวโน้ตเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการเล่นเครื่องดนตรีทุกชนิด พื้นฐานของดนตรีจะมีตัวโน้ตอยู่ทั้งหมด 12 ตัว โดยเรียกชื่อทางชาร์ป (#) ได้แก่  C , C# , D , D# , E , F , F# , G , G# , A , A# , B , C หรือเรียกชื่อทาง แฟร็ต (b) ได้แก่ C , Db , D , Eb , E , F , Gb , G , Ab , A , Bb , B , C สำหรับอูคูเลเล่นั้นมีตัวโน้ตคามสายและเฟร็ตต่างๆ ดังนี้

โน้ตบนเฟร็ตบอร์ดของอูคูเลเล่

การตั้งสาย Ukulele
อูคูเลเล่ เป็นเครื่องดนตรีสากลที่ใช้ระบบโน้ตแบบ โครมาติก (Chromatic) สายต่างๆจะตั้งเป็นโน้ต ดังนี้


อูคูเลเล่จะต่างกับเครื่องดนตรีประเภทสายอื่นๆ คือ สายสุดท้ายหรือสาย 4 จะตั้งเป็นโน้ตที่สูงกว่าสาย 3 คือ สาย 4 จะตั้งเป็นโน้ต G ที่ใกล้เคียงกับโน้ต A ที่สาย 1 การที่เราใส่สายอูคูเลเล่เช่นนี้ว่ากันว่าจะทำให้เหมาะกับการเล่นสตรัม (Strum หรือการดีด) แต่ทั้งนี้ก็มีการนำสายที่ให้เสียง G ต่ำ หรือที่เรียกว่าการใส่สายแบบ Low G มาใช้ในอูคูเลเล่เช่นกัน การใส่สายดังกล่าวจะทำให้สาย 4 ให้เสียง G ที่ต่ำ กลายเป็นเสียงที่ต่ำที่สุดในทั้งหมด 4 สายของอูคูเลเล่ การใส่สายแบบ Low G นี้ เหมาะกับการเล่นปิ๊กกิ้ง (Picking) คือ การเลือกเล่นทีละสาย หรือ มากกว่านั้น

รู้จักกับโน้ตสากล
           โน้ตสากลจะใช้แทนดัวยอักษรภาษาอังกฤษ เพียง 7 ตัวเท่านั้น คือ A B C D E F G แต่จะมีโน้ตจริงๆทั้งหมด 12 ตัว คือ จะมีโน้ตคั่นกลางระหว่างโน้ตพวกนี้ด้วย ยกเว้นระหว่าง B กับ C และระหว่าง E กับ F ซึ่งเขียนได้ 2 แบบ ดังนี้
A-A#-B-C-C#-D-D#-E-F-F#-G-G#

A-Bb-B-C-Db-D-Eb-E-F-Gb-G-Ab

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าโน้ตที่อยู่ระหว่างกลางเหล่านี้เป็นโน้ตตัวเดียวกัน แต่มีได้ 2 ชื่อ โดยที่มีเครื่องหมายบางอย่างกำกับอยู่ เครื่องหมายเหล่านี้เรียกว่า เครื่องหมายแปลงเสียง นั่นเอง

เครื่องหมายแปลงเสียง
ใช้บังคับโน้ตให้มีเสียงสูงขึ้นหรือต่ำลง ดังนี้

Sharp (ชาร์ป)  ทำให้เสียงสูงขึ้น 1/2 เสียง
Flat (แฟร็ต)  ทำให้เสียงต่ำลง 1/2 เสียง
Double Sharp (ดับเบิลชาร์ป)  ทำให้เสียงสูงขึ้น 1 เสียง
Double Flat (ดับเบิลแฟร็ต)  ทำให้เสียงต่ำลง 1 เสียง
Natural (เนเจอรัล)  ทำให้เสียงกลับเป็นปกติ ถ้ากำกับโน้ตตัวไหน ก็กดโน้ตตัวนั้นเป็นตัวปกติ

ตัวอย่างเครื่องหมายแปลงเสียงบนโน้ต
1. โน้ต A จะอยู่บนสายที่ 2 เฟร็ตที่ 5
2. ถ้าใส่เครื่องหมาย # เป็น A# ก็จะได้โน้ต A# อยู่บนสายที่ 2 เฟร็ตที่ 6 หรือก็คือ เลื่อนนิ้วเข้าหาลำตัวอูคูเลเล่ 1 เฟร็ต
3. ถ้าใส่เครื่องหมาย b เป็น Ab จะได้โน้ต Ab อยู่บนสายที่ 2 เฟร็ตที่ 4 หรือก็คือ เลื่อนนิ้วออกไปทางหัวอูคูเลเล่ 1 เฟร็ต
4. ในกรณีที่เราจับคอร์ดที่ต้องกดทุกสาย เช่น คอร์ด Gm ที่เฟร็ตที่ 5 แล้วเราไปเจอคอร์ด G#m ในเพลง เราก็จับคอร์ดเหมือน Gm แต่เลื่อนนิ้วทั้งหมดมาทางลำตัว 1 เฟร็ต หรือก็คือ เริ่มจับคอร์ดจากเฟร็ตที่ 6 นั่นเอง


หมายเหตุ : การเลื่อนนิ้วให้ใช้กับคอร์ดที่กดทุกสายเท่านั้น