วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Jason Mraz

ทำความรู้จักกับ Jason Mraz


                  เป็นศิลปินชื่อดังอีกคนที่มีผลงานเพลง ที่ผสมผสาน ผ่านดนตรีหลากหลายสไตล์ วิธีการร้องและเล่นอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ที่สุดของ Jason Mraz คือ การผสมผสานดนตรีหลากหลายไสตล์ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่ทำให้ผู้คนมากมายทั่วโลกต่างสนใจในผลงานเพลงของเขา Jason Mraz ได้นำดนตรีในแบบ Reggae, Pop, Rock, Folk, Jazz, Bossa Nova และ Hip hop มาผสมผสานกันได้อย่างลงตัวไม่มีใครจะปฏิเสธว่า "Jason Mraz" เป็นศิลปินคนหนึ่ง ที่สามารถดังเกาะกระแสข้าม (หลาย) ปี อย่างยาวนาน จนถึงปี 2011 นี้ ก็ยังมีคนชอบฟังเพลงของเขาอยู่ 
                 สิ่งหนึ่งที่ทำให้ "Jason Mraz" ดังเป็นพลุแตก ไปพร้อมๆ กับเพลงของเขา มาจากสไตล์เพลง ซึ่งดูจะแตกต่างจากแนวเพลงอื่นๆ ที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน รวมถึงลีลาการร้อง และการแสดงบนเวทีของ Jason Mraz ก็มีส่วนอยู่มากทีเดียว สำหรับบนเวทีแล้ว Jason Mraz ถือเป็น Entertainer คนหนึ่ง ที่ทำให้การแสดงของเขาดูน่าสนใจ ผู้ชมล้วนมีความสุขไปกับโชว์ของ Jason Marz หากจะหยิบเพลงหนึ่งเพลงใดมาพูด คงไม่สามารถปฏิเสธว่า เพลง I'm Yours ดังเป็นพลุแตกจริงๆ โดยเฉพาะในบ้านเรา อีกทั้งบทเพลง "I'm Your" ช่วยทำให้วงการดนตรีอะคูสติกกลับมาครึกคักไปทั่วโลกอีกครั้ง สำหรับผู้เขียนแล้ว I'm Yours ถือเป็นเสมือน "เพลงประจำชาติ" ของ Jason Mraz เลยทีเดียว แต่ใช่ว่าจะมีแต่ I'm Yours ที่เป็นเพลงชั้นยอด ยังมีอีกหลายเพลงในแทบทุกๆอัลบั้ม ที่มีความไพเราะ และน่าสนใจเป็นอย่างมาก เรามารู้จักกับผู้ชายคนนี้ "Jason Mraz" ยอดอัจฉริยะแห่งดนตรียุคใหม่ 


                 Jason Mraz เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 1977 ในอเมริกา เมืองแมคคานิกส์วิลล์ (Mechanicsville) ในรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia) ชีวิตของ Jason Mraz ไม่ค่อยสู่ดีนักในวัยเด็ก เหตุจากพ่อแม่แยกทางกันตั้งแต่เขามีอายุเพียง 4 ขวบ! Jason Mraz เข้าเรียนในโรงเรียน Lee Divs High school ในช่วงจังหวะนี้เอง เขาได้เข้าร่วมกับคณะประสานเสียง และละครเวทีใน Lee Divs School ด้วยพรสววรค์ทางด้านการร้องเพลง ตอนที่เขามีอายุประมาณ 13 ขวบ เขามีโอกาสเข้าไปร่วมร้องเพลงกับวง R&B ซึ่งเป็นการร่วมตัวกันของเด็กวัยรุ่น ในวัยใกล้เคียงกัน เป็นวงดนตรีท้องถิ่น ชื่อวง Dressed To Kill และตรงนี้เองที่ทำให้เขาเริ่มค้นพบ สิ่งที่เขารัก และอยากทำมันแบบจริงๆ จังๆ
                    เขามุ่งหน้าเข้าเรียนในนิวยอร์ก (New York) ในระดับการอุดมศึกษา สาขา Musical Theatre โดยเริ่มหัดเล่นกีต้าร์แบบจริงๆ จังๆ ด้วยความมุ่งมั่นตามความฝันของตนเอง ที่ต้องการเป็นนักแต่งเพลง นักร้อง และเล่นดนตรีอาชีพ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยม ในปี 1995, Jason Mraz เข้าร่วมกับวง American Academy ในนครนิวยอร์ก เป็นเวลาสั้น ๆ ในการฝึกฝนทักษะทางด้านดนตรี, ไม่นานนักก็หยุดตัวเองเพื่อมุ่งมั่นกับการเล่นกีต้าร์ และการแต่งเพลง ต่อมา Jason Mraz ได้ย้ายไปยัง San Diego, California เพื่อตามความฝันของตนเอง อีกครั้ง Jason Mraz มีโอกาสร้องเพลงใน Pub แห่งหนึ่ง ชื่อ Java Joe’s ด้วยการแสดงบนเวทีและท่วงทำนองเพลงที่สนุก มีแบบฉบับของตัวเอง จากคนดูไม่กี่คน ก็กลายเป็นคนดูเต็มร้านภายในระยะเวลาไม่สัปดาห์ ที่นี่ Jason Marz ได้พบกับนักร้อง นัก Percussion ชื่อ "โทค่า" (Noel “Toca” Rivera) ทั้งคู่ร่วมกันทำวงและเล่นคู่กัน Mraz และ Toca จึงมีโอกาสไปเล่นตามพับอื่นๆ ในย่านแอลเอ(L.A) นอก Toca จากจะเล่น Percussion ได้ดีแล้ว เขายังมีความสามารถในการร้องเสียงประสานได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย ทั้งสองคนมุ่งมั่น และจริงจังกับการทำเพลงมากขึ้น โดยมองไปถึงขั้นการทำอัลบั้มร่วมกัน ระหว่างนั้น Marz และ Toca ได้ทำเดโมอัลบั้มชื่อ "Live at Java Joe's" มีเพลงเด็ดๆ อย่าง You and I Both, 1000 Things ซึ่งได้มีโอกาสเปิดผ่านรายการวิทยุใน San Diego ด้วย หลังจากโชว์ของเขาทั้งคู่โด่งดังไปชนิดปากต่อปาก ไม่นานนัก... ก็มีแมวมองจากสังกัดค่าย "Elektra Records" ซึ่งได้มีโอกาสมาฟังการแสดงของเขาทั้งคู่ หลังการแสดงในคืนหนึ่งจบลง ทั้งสองถูก Elektra Rocord จับมาร่วมเซ็นสัญญาเพื่อออกอัลบั้ม ในปี 2002 "Waiting for My Rocket to Come" อัลบั้มแรกของ Jason Mraz ภายใต้สังกัด Elextra Rocords โดยได้ John Alagia โปรดิวเซอร์มือดีที่เคยทำงานอัลบั้มอันโด่งดังให้กับ "Dave Matthews Band" และ "John Mayer" มาก่อนหน้านี้ มาช่วยดูแลอัลบั้มให้

               อัลบั้ม "Waiting for My Rocket to Come" ถูกวางจำหน่ายในปลายปี 2002 แนวเพลงไปทาง Pop Rock และ Alternative Rock โดยใส่ซาวนด์อะคูสติกลงไปด้วย ทำให้มีกลิ่น Folkmusic ฟังดูมีเสน่ห์ และแตกต่างจากเพลงอื่นๆ ในช่วงเวลานั้น โดยเฉพาะตลาดเพลงอเมริกันทั่วไป

               เข้าสู่ปี 2003 Jason Mraz เข้า Studio อีกครั้ง เพื่อออกผลงานอัลบั้มที่สอง "Mr. A-Z" นักวิจารณ์ทั่วโลกต่างวิจารณ์เพลงของ Jason Mraz ว่า เป็นการผสมผสานแนวเพลง ในแบบหลากหลายสไตล์ ได้อย่างลงตัว เทคนิคการร้องแบบผสมผสาน ทั้งโฟล์ค ป๊อป ร็อก และฮิปฮอป ถือเป็นความโดดเด่นของ Jason Mraz ที่ไม่เหมือนใคร ในจังหวะนี้ เขามีโอกาสเข้าสังกัดใหม่ "Atlantic Records" ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ โดยหลังจับมือเซ็นสัญญา Jason Mraz ได้ออกอัลบั้ม "Mr. A-Z" ซึ่งเป็นอัลบั้มที่สอง โดยมีเพลง "Wordplay" เป็นซิงเกิ้ลแรก และเพลง "Geek in The Pink" เป็นชิงเกิ้ลต่อมา เรียกว่า สองเพลงนี้ได้รับเสียงตอบรับได้ดีมากทีเดียว



               ในปี 2008 กับอัลบั้ม "We Sing. We Dance. We Steal Things" ที่ถือเป็นอีกหนึ่งสุดยอดในผลงานเพลงของ Jason Mraz หลังจากเข้าสตูดิโอ เขาได้แยกเพลงต่างๆ ในอัลบั้มนี้ออกเพื่อวางจำหน่าย เป็นเพลงอะคูสติก 3 ชุด คือ "We sing" ออกจำหน่าย 18 มีนาคม, "We dance" ออกจำหน่าย 15 เมษายน และ "We steal things ออกวางจำหน่ายพร้อมกับอัลบั้มเต็มในวันที่ 13 พฤษภาคม
                อัลบั้ม "We Sing. We Dance. We Steal Things" ถือเป็นการพัฒนาการทางดนตรีอีกขั้นของ Jason Mraz มีการนำเครื่องดนตรีหลากหลายชนิดมาผสมผสานกัน เพิ่มเสน์ห์ความน่าสนใจให้กับบทเพลง และอัลบั้มนี้ทำให้เขาเป็นที่รู้จักในวงกว้าง มากขึ้น ด้วยเพลงเอก ที่โด่งดัง รู้จักและร้องตามกันได้ไปทั่วโลก "I'm Your" และไม่นานนักเพลงหวานๆ อย่าง "Lucky" ก็ดังตามมาติดๆ การได้สาวสวยเสียงดีอย่าง Colbie Caillait มาร่วมร้องเพลง Lucky ช่วยทำให้เพลงนี้ดูมีเสน่ห์ และไพเราะมากขึ้นทีเดียว นอกจากได้ Colbie Caillait มา featuring ให้แล้ว อัลบั้มนี้ยังได้ Martin Terefe โพรดิวเซอร์ที่เคยร่วมงานกับวง "Coldplay" และ "James Morrison" มาแจมอีกด้วย 

                ถึงปี 2010 อัลบั้ม "We Sing. We Dance. We Steal Things" มียอดขายรวม 1,491,736 แผ่นในสหรัฐอเมริกา ได้รับการรับรองโดย RIAA Platinum, ซิงเกิ้ลแรกของอัลบั้มเต็มคือเพลง "I'm Yours" ที่สามารถขึ้นสูงสุดถึงอันดับ 6 ใน Billboard Hot 100

                ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่า เพลง "I'm Yours" ได้สร้างชื่อเสียงให้กับ Jason Mraz ชนิดเรียกว่าดังเป็นพลุแตก ร้องได้กันทั่วโลก แถมถูกตั้งฉายาว่า เป็นเพลงประจำชาติของ Jason Mraz ซึ่งเราเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพลงแนะนำสำหรับอัลบั้ม "We Sing. We Dance. We Steal Things" "I'm Yours" "Make it Mine" "Lucky" "Butterfly" และ "Live High" เป็นต้น จึงเป็นที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่งว่า อัลบั้มต่อไปของ Jason Mraz จะเป็นอย่างไร  น่าลุ้นกันต่อไปค่ะ ^^




สิงโต นำโชค

ประวัติสิงโต นำโชค


              สิงโต เกิดที่จังหวัดบุรีรัมย์และเป็นลูกชายคนโตของนักร้องลูกทุ่ง ชายทุ่ง รุ้งโรจน์  สิงโตได้ออกไปหาประสบการณ์ 3 ปีกับการเล่นดนตรีที่ภูเก็ตสิงโตจบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และ สิงโตเริ่มเล่นอูคูเลเล่เมื่ออายุ 12 – 14 ปี สาเหตุเพราะเห็น อดัม แซนด์เลอร์ จากเรื่อง 50 Firstday (2004) แล้วจึงอยากร้องเล่นตามบาง เลยไปซื้ออุคูเลเล่ ในตัวเมืองภูเก็ตมาเล่น แล้วใช้เพลงมาแต่งด้วยบางเพลง และเริ่มฝึกฝนที่ภูเก็ตอยู่ 3 ปี เมื่อวันหนึ่งสิงโตอยากไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ตพร้อมกับกีตาร์คู่ใจ เพื่อนำไปเล่นดนตรีด้วย ความต้องการที่จะไปเที่ยวเพียงแค่ 3 เดือน ทำให้สิงโตได้อยู่ภูเก็ต 3 ปี ช่วงระยะเวลาสามปีที่อยู่ในเมืองภูเก็ต บรรยากาศของเมืองทำให้สิงโตเริ่มหาร้านนั่งจิบกาแฟและเริ่มแต่งเพลงไปด้วย ทุกๆกลางวันเขาจะไปนั่งที่ร้านเพื่อแต่งเพลง จนรู้จักกับคนเปิดร้านกาแฟที่ต่อมาเขาหันมาเปิดบริษัททำเพลง จึงชวนให้สิงโตมาทำเพลงร่วมกันสำหรับเรื่องราวของดนตรี


              ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงประวัติของนักดนตรีคนหนึ่งที่กำลังโด่งดังในวงการเพลงของไทย นั้นก็คือ สิงโต นำโชค ซึ่ง ถือได้ว่าเป็นนักร้องที่มีเอกลักษณ์ในการร้องเพลงในแบบของตัวเองเป็นอย่างดี ให้เสน่ห์ในการร้องซึ่งมีความเป็นมืออาชีพในทางดนตรีคนหนึ่ง สิงโต นำโชค มีชื่อจริงว่านำโชค ทะนัดรัมย์ และมีชื่อเล่นว่าสิงโต ทำให้กลายเป็นชื่อเรียกในวงการเพลงมาจนถึงทุกวันนี้ว่า สิงโต นำโชค



               สิงโตนำโชคนั้น เกิดในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นลูกชายของชายทุ่ง รุ้งโรจน์ ซึ่งเป็นศิลปินลูกทุ่ง ทำให้เขามีความชอบในเสียงดนตรีมาตั้งแต่เด็ก และยังเป็นเจ้าของรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 และ รางวัล People Choice ผู้ที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุด จากการประกวด Ukulele Thai ซึ่งเป็นครั้งแรกในการประกวดที่ได้จัดขึ้นในประเทศไทย สำหรับเส้นทางของการเล่นดนตรีของสิงโต นำโชคนั้น เขาได้เดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ตเพื่อหาประสบการณ์ในการเล่นดนตรีและที่นั้น ทำให้เขาได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเพลงมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการแต่งเพลง หรือจะเป็นการเล่นดนตรี

               หลังจากนั้นสิงโต นำโชค ก็ได้รู้จักกับเจ้าของบริษัทเพลง พอลเลน ซาวน์ด ซี่งทำให้สิงโตได้ถูกชักชวนให้มาเล่นดนตรีในค่ายเพลงด้วย สำหรับแนวเพลงที่สิงโตเล่นนั้นจะเป็นเพลงในสไตล์ เซิร์ฟ มิวสิค เป็นเพลงที่ฟังสบาย ๆ เหมาะกับบรรยากาศริมชายทะเลเป็นอย่างดี นั้นเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตในวงการดนตรีอย่างเต็มตัวของสิงโต นำโชค และเขาก็ได้ออกอัลบั้มชื่อสิงโต นำโชค และเป็นอัลบั้มที่ได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงเป็น อย่างดีทำให้เขากลายเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในวงการดนตรี จนกลายเป็นนักดนตรีที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองด้วยผลงานที่มีคุณภาพก็ทำให้ เกิดกลุ่มแฟนเพลงของเขาขยายตัวมากขึ้น





                เป็นยังไงกันบ้างค่ะ กับประวัติของ สิงโต นำโชค มีแรงกระตุ้นเลยเชียวละ ชื่นชมพี่เขามากๆเลย ซึ่งตอนนี้ก็แต่งงานมีลูกไปเรีบยร้อยแล้ว แต่ก็ยังน่ารักมากๆเลยค่ะ
สิงโต นำโชค เป็นศิลปินอีกคนที่เป็นแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นเล่นอูคูเลเล่ของเรา และก็คงอีกหลายๆคนเหมือนกันใช่ไหมละคะ  ^^

แถมนิดนึง ^_____^




วิธีดูแล Ukulele

การดูแลรักษา Ukulele
1. เก็บไว้ในเคส จะดีที่สุดค่ะ เวลาไม่เล่นก็เก็บใส่เคส จะเป็นเคสอ่อน เคสแข็ง ได้ทั้งนั้น (แต่เราแนะนำว่าเคสแข็งดีกว่านะ เผื่อมีอะไรมากระทบกระแทก อูคูเลเล่เราจะได้ไม่เสียหายให้ช้ำใจ^^)
2. เก็บเคสไว้ในที่ที่ไม่โดนแดด โดนฝน โดนลม ห้ามเก็บในรถนะ เพราะอากาศจะร้อนมาก ไม่ถ่ายเท
3. เวลาเดินทางไกล ขึ้นเครื่องบิน หรือส่งอู๊คไปทางอากาศ ควรจะทำการหย่อนสาย เพราะความกดอากาศ อาจจะทำให้สายตึงเกิดการเสียหายได้ ไม่ต้องถึงกับถอดสายออกมา แค่ผ่อนให้สายมันหย่อน ๆ แล้วเดี๋ยวลงจากเครื่องแล้วค่อยทูนกันใหม่ค่ะ
4. ไม่ควรให้โดนน้ำ ถ้ามือเลอะน้ำ ก็เช็ดให้แห้งก่อนเล่น น้ำกับไม้ ไม่ค่อยถูกกัน
5. ถ้ามือมันมาก หรือเหงื่อออกมา เวลาเล่นเสร็จแล้ว ก็ให้เอาผ้าแห้ง ๆ เช็ดโดยรอบ โดยเฉพาะบริเวณเฟร็ตบอร์ด ถ้าเป็นผ้าชนิดที่เป็นเส้นใยละเอียด micro fiber จะดีมาก เพราะทำความสะอาดได้ดีค่ะ
6. ถ้าอาศัยอยู่ในเมืองที่อากาศร้อนจัด หรือหนาวจัด อากาศแห้ง ๆ อาจจะต้องหา humidifier มาไว้ มันเป็นเหมือนตัวรักษาความชื้น นำไปชุบน้ำ แล้วก็ทิ้งไว้ในเคส (ไม่ต้องชุบมากจนมันหยดออกมานะ!!) แล้วเดี๋ยวมันจะแห้งของมันไปเอง เดือนหนึ่ง อาจจะนำไปชุบน้ำสักครั้งสองครั้ง แต่สำหรับประเทศไทยมันร้อนชื้น คงไม่เป็นไรค่ะ
7. ถ้ามีอู๊คหลายตัว หยิบเล่น หยิบวางอยู่เป็นประจำ อาจจะต้องหาแสตนด์มาตั้ง ดีกว่าไปวางไว้ที่พื้นให้ฝุ่นเกาะ เคยเห็นบางคนทำตะขอติดผนัง แขวนข้างฝาก็สวยดีไปอีกแบบ (อย่าไปแขวนในที่ ๆ แดดส่องถึงเป็นใช้ได้)
8. ห้ามเก็บไว้ในรถ กระโปรงหลังรถยิ่งไม่ได้เลย (ขอเตือนอีกครั้งหนึ่ง) เสี่ยงต่อการโดนขโมยด้วยนะ
9. วิธีขัดถูอู๊ค จะต้องใช้น้ำยาเคมี หรือครีมมาทา แล้วขัด ๆ เพื่อรักษาสภาพของไม้ให้คงอยู่นานๆ ไม่เสื่องสภาพไปก่อนค่ะ หรืออาจจะใช้ผ้าแห้งเช็ดธรรมดาก็ได้นะ^^





การเลือกซื้อ Ukulele

วิธีดูอูคูเลเล่
  • หาคนที่เล่นเป็น ไปช่วยเลือกซื้อ
               วิธีนี้ง่ายที่สุด หาคนที่เล่นอูคูเลเล่เป็น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน หรือ คนรู้จัก ไปช่วยเลือกซื้อ
เพราะของแบบนี้ คนมีประสบการณ์ถึงจะบอกได้ (สาย เสียง การจับ คุณภาพโดยรวม) ถ้าเราไม่มีประสบการณ์มาก่อน ย่อมตัดสินใจลำบาก ถ้าไม่มีคนไปด้วย อาจต้องหา Review จากเว็บไซต์แล้ววัดดวงกันไป
  • ลองเล่นเองดูเลย (Playability)
                ลองดูว่า ถือแล้ว ถนัดมือเราไหม ย้ายมือสะดวกหรือเปล่า สมดุลดีไหม เล่นแล้วเสียงบอด หรือ หึ่งไปหรือเปล่า เลือกดูอันที่เราคิดว่า เราชอบ และสามารถเล่นไปได้อีกนาน ๆ
  • ขนาด (Size)
                อูคูเลเล่ มีอยู่ 4 ขนาด ได้แก่
- เล็ก (Soprano) เป็นขนาดมาตรฐานของอูคูเลเล่ เหมาะสำหรับมือใหม่ เสียงจะหวานแบบฉบับอูคูเลเล่ รุ่นนี้เหมาะทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่
- กลาง (Concert) มีโน้ตให้กดมากกว่ารุ่นเล็ก ขนาดยาวกว่าเล็กน้อย ยังคงเสียงหวาน ๆ อยู่
- ใหญ่ (Tenor) เหมาะสำหรับมือกีต้าร์ ที่ย้ายค่ายมาเล่นอูคูเลเล่ รองรับรูปแบบการเล่นที่หลากหลายได้ เสียงจะต่างไปจาก 2 รุ่นแรกอยู่บ้างนิดหน่อย
- ใหญ่มาก (Baritone) อันนี้ตัดออก เรียงสายไม่เหมือนชาวบ้าน
                 ถ้าให้เราแนะนำนะ ให้เริ่มต้นเล่นที่รุ่นเล็ก (Soprano) ก่อน เพราะถ้าเราอยากเล่นขนาดอื่นๆ ก็จะสามารถเล่นได้เลย เพราะใช้พื้นฐานเดียวกัน
  • ราคา (Price)
                 อูคูเลเล่ที่ดี ราคามักจะอยู่ที่ 1,500 บาทขึ้นไป (มือใหม่ ไม่ควรใช้งบเกิน 5,000 บาท) เพราะเราไม่รู้ว่า เราจะชอบอูคูเลเล่หรือเปล่า และขณะเดียวกัน ถ้าเสียงไม่ดี ก็คงไม่มีใครอยากเล่นต่อ แน่นอนว่า ของถูกมักไม่ใช่ของดี และของแพงใช่ว่าจะดีเสมอไป ต้องพึงนึกถึงข้อนี้เอาไว้ด้วย
  • เสียง (Sound)
                 ข้อนี้เป็นข้อตัดสินเลย เพราะว่าเราซื้อมา เราเล่นเอง เราชอบเสียงอูคูเลเล่ตัวนี้ไหม  วิธีที่ง่ายคือ เทียบเสียงกับตัวที่ราคาแพง หรือ เทียบเสียงกับวิดีโอรุ่นอูคูเลเล่ที่เราถูกใจ พยายามเทียบเสียง หาลักษณะร่วมของตัวที่แพง กับ ตัวที่จะซื้อให้เจอ
  • รูปทรง (Alignment)
                 ตรวจดูว่า มีรอยแตก ด้านนอก/ในไหม (เอาไฟส่อง ดูว่าไฟทะลุไหม) ด้านในงานเก็บดีหรือเปล่า ส่วนหัวกับหาง สายเรียงตรงหรือเบี้ยว (ยกขึ้นมาส่อง จากหัวไปยังส่วนท้าย) ควรจะเรียงตรงเหมือนรางรถไฟ ถ้าเบี้ยว จะทำให้เสียงที่ดีดออกมาเพี้ยนได้ เลือกทรงที่หน้าตาเหมือนกีต้าร์ธรรมดา หรือ เหมือนสัปปะรด แตงโม พวกนี้เวลาจับแล้วถือง่าย วางบนตักง่าย  ถ้าเป็นพวกทรงแปลก ๆ แบบพวกตัว V ถึงเท่ แต่จับลำบาก นอกจากนี้เช็คดูด้วยว่าจุดยึดสายทุกจุด (Nut, Bruidge) แน่นหนา ไม่โยกคลอน ส่วนเชื่อมคอ (Neck) กับ ลำตัว (Body) แน่นหนา ไม่เบี้ยว
  • ไม้ (Wood)
                ไม้ที่ใช้ทำอูคูเลเล่ มีหลายชนิดมาก ตั้งแต่ Koa, Mahogany, Cedar ฯลฯ  ถ้าเป็นแบบไม้แท้ ชนิดของไม้ที่ทำจะมีผลต่อเสียงเป็นอย่างมาก ส่วนแบบไม้อัด ชนิดของไม้ไม่มีผล เพราะเป็นแค่ลายไม้ แปะทับลงไปบนไม้อัดอีกที
- ไม้แท้ (Solid wood) ทำจากไม้แท้ ๆ ตรงแผ่นหน้าเลย และแน่นอนว่า แบบไม้แท้ ราคามักจะโดดขึ้นไปอย่างมาก
- ไม้อัด (Laminated wood) แบบนี้ข้างนอกเป็นลายสวย ๆ ข้างในเป็นไม้อัด ไม้อัด เสียงจะอู้อี้ ๆ และดังน้อยกว่าแบบไม้แท้ ข้อดีของไม้อัดก็มีอยู่ คือ อายุการใช้งานจะทนกว่าไม้แท้ พอผ่านไปนาน ๆ พวกไม้อัด เสียงจะไม่อู้อี้ไปกว่าเดิม และทนอากาศชื้น ๆ ของเมืองไทยได้ดีกว่าด้วย
***บางคงอาจจะสงสัยว่าไม้อัดมันคืออะไร ไม้อัดคือการที่คน เอาท่อนซุง ทรงกระบอก ไปเข้าเครื่อง แล้วรีดซุงออกมาบางเหลือเท่าแผ่นกระดาษ (นึกถึงลักษณะม้วนกระดาษทิชชู่ก็ได้) จากนั้นเอาแผ่นไม้บาง ๆ เหล่านี้มาซ้อนกันแล้วนำไปอัดเข้าด้วยกันให้ติดเป็นแผ่นไม้หนา ๆ
***ข้อที่ควรรู้อีกอย่างคือ ในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นแบบไม้อัด แต่ก็มักจะถูกโฆษณาว่าเป็นไม้แท้ เช็ครุ่นดูดี ๆ 
- ถ้างบจำกัด และรักสิ่งแวดล้อม แนะนำให้เลือกแบบไม้อัด
- ถ้างบไม่จำกัด แบบไม้แท้ เสียงจะดีกว่า
  • สาย (String)
                 สายมีหลายชนิดเหมือนกัน มีทั้งแบบสายไนลอน (Nylon) สายไส้สัตว์ (Gut string) สายเหล่านี้มีผลต่อการ เล่นอูคูเลเล่ (Ukulele) ทำให้เสียงที่ออกมาเป็นดังที่ต้องการ ยี่ห้อที่นิยม ได้แก่ Aquila, Worth  ของแบบนี้ ต้องลองจับดูเลย ถ้าไปเจอรุ่นถูก ๆ เข้า เวลาเล่นแล้วจะเจ็บนิ้ว พอสมควร ควรดูด้วยว่าระยะห่างระหว่างตัวสาย กับ เฟร็ต (เหล็กรูปตัวหนอน, Fret) ห่างกันแค่ไหน (มองจากด้านข้าง)
- ถ้าสายอยู่สูงไป เสียงจะดี และไม่ค่อยเพี้ยนไปโดนสายอื่น แต่จะเจ็บนิ้ว และกดคอร์ดยาก
- ถ้าสายอยู่ต่ำไป จะกดคอร์ดง่าย แต่ไปพลาดโดนคีย์อื่นได้ง่ายเช่นกัน
***คำแนะนำโดยทั่ว ๆ ไป คือ ห่างประมาณเอาบัตรประชาชนสอดเข้าไปได้ (สายตรงช่วงบนสุด กับ เฟร็ต)
  • ลูกบิดตั้งสาย (Geared Tuner)
                 เลือกซื้อแบบที่ใช้มือบิดได้ (แบบเฟือง, Geared tuner) หน้าตาคือลูกบิดที่ยื่นออกไปด้าoข้าง (ดังรูปประกอบบทความ) ลูกบิดแบบนี้ปรับง่าย ลูกบิดต้องยึดแน่นกับตัวอูคูเลเล่ ดีด ๆ ไปซักพัก เสียงไม่ควรจะเพี้ยนเร็ว (ยกเว้นสายที่พึ่งขึ้นใหม่ ๆ ช่วงแรก ๆ สายจะยังไม่ยืดพอ ทำให้เพี้ยนเร็ว แต่เล่นไปซักพัก สายจะเข้าที่เอง)
- บิดตามเข็มนาฬิกา คลายสายให้หย่อนลง
- บิดทวนเข็มนาฬิกา ขึงดึงสายให้ตึงขึ้น

*****ระวังของปลอม (Counterfeit)ของปลอมมีหลายแบบ ทั้งปลอมแบบทั้งหน้าตา ทั้งโลโก้ กับ ปลอมแบบลอกเลียนแบบหน้าตามา แต่โลโก้เปลี่ยนตัวพยัญชนะไปบ้าง เช็คดูดี ๆ ก่อนซื้อ หาร้านที่ไว้ใจได้ ยี่ห้อไหนไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน Search ก่อนว่ามียี่ห้อนี้อยู่จริงหรือไม่ เช่น ยี่ห้อจริง ชื่อ TOUGH (ชื่อสมมติ) ยี่ห้อปลอม ชื่อ TOUCH (ชื่อสมมติ) การเปลี่ยนตัวพยัญชนะไปบ้าง ถ้าคนซื้อสังเกตไม่ดี ทำให้คนที่จำชื่อได้ไม่แม่น หรือ อาศัยว่าคุ้น ๆ เอา แล้วหยิบซื้อเลย จะพลาดเอาได้
ลองค้นหาดูก่อน จากในอินเทอร์เน็ต (Internet) ก็ได้ ว่ามีผู้ผลิตยี่ห้อนี้จากต่างประเทศจริงหรือไม่  ราคาของปลอม มีตั้งแต่ถูกสุด ๆ ไปยังแพงสุด ๆ เหมือนกัน

ก่อนตัดสินใจซื้อ ต้องรอบคอบ และคัดเลือกให้ดีที่สุดนะคะ^^


Ukulele Groove

Groove แบบ Swing/Shuffle
             การเน้นในแต่ละจังหวะตกหรือยก ทำให้เกิดกรูฟ (Groove) ที่แตกต่าง การเล่นจังหวะตกและยกนั้น หากไม่มีการเน้นที่จังหวะใดเลย เพลงก็จะเรียบๆเหมือนกันไปหมด แต่ที่เราได้ยินเพลงแต่ละเพลงต่างกันนั้น เป็นเพราะเพลงมีสิ่งที่เรียกว่า กรูฟ (Groove) ของเพลง ซึ่งเกิดจากการเลือกเน้น หรือ ไม่เน้น ที่จังหวะตกหรือยกบางจังหวะนั่นเอง

การเน้นที่จังหวะตกของนับที่ 2 และ 4 ทำให้เกิดกรูฟแบบ Swing/Shuffle
               กรูฟแบบ Swing/Shuffle เป็นกรูฟเบื้องต้นแบบหนึ่งที่เหมาะกับการนำมาเล่นอูคูเลเล่ ให้ความรู้สึกสนุกสนานและสบายๆ โยกตามไปกับเพลงได้ และเกิดขึ้นจากการที่คนเรามักจะเน้นที่จังหวะตกของนับที่ 1 ไปเอง เพราะเป็นจุดเริ่มต้น และทำให้เราเน้นที่จังหวะตกของนับที่ 3 ซึ่งอยู่ห่างกัน 2 นับไปโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อเราสลับมาเน้นจังหวะที่เราไม่ได้เน้นแทน คือ จังหวะตกในนับที่ 2 และ 4 เราก็จะได้กรูฟแบบ Swing/Shuffle

วิธีฝึกเล่นกรูฟแบบ Swing/Shuffle 
                 การเล่นกรูฟแบบ Swing/Shuffle ให้เราเริ่มจากการสตรัมลงที่จังหวะตกอย่างเดียวไปเรื่อยๆ แล้วนับ 1 2 3 4 ไปด้วยก่อน ซึ่งก็คือการเล่น 1 ห้อง จากนั้นให้เราเน้นเสียงในนับที่ 2 กับ 4 น่าจะทำให้เราสตรัมหนักขึ้นในนับดังกล่าวไปโดยอัตโนมัติ วิธีที่ทำให้เน้นจังหวะตกของนับที่ 2 และ 4 ได้ดีขึ้นไปอีกคือ หากเราสตรัมเบาลงหรือไม่เน้นในจังหวะตกของนับที่ 1 และ 3 โดยสตรัมลงแค่ที่สาย 4 สายเดียว หรือลงไปถึงสาย 3 ด้วย ก็ทำให้จังหวะที่เราเน้นชัดขึ้นไปอีก โดยเราจะเล่นลงทั้ง 4 สายในจังหวะตกของนับที่ 2 และ 4
                 เมื่อเราได้ฝึกเน้นที่จังหวะตกของนับที่ 2 และ  4 ด้วยการเล่นลงอย่างเดียวกันไปแล้ว โดยที่การสตรัมลงอย่างเดียวนั้นไม่ยากเลย ทีนี้ก็มาลองเพิ่มจังหวะยกเข้าไปด้วยนะ

                 รู้สึกเหมือนเรากันบ้างมั้ยว่าพอเริ่มเล่นจังหวะยกด้วย เพื่อนๆก็อาจจะสับสน เพราะรู้สึกว่าเราสตรัมไม่เท่ากัน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาค่ะ มันเกิดจากการเน้นจังหวะ ทำให้เกิดการหน่วง ซึ่งก็คือ Groove นั่นเองค่ะ เพราะเวลาที่เล่นจังหวะตกของนับที่ 1 และ 3 เราเล่นแค่ถึงสาย 4 หรือ 3 จึงทำจังหวะยกต่อจากนั้นยาก อาจไม่ต้องเล่นที่จังหวะยกต่อจากนับที่ 1 และ 3 ก็ได้ ให้เล่นจังหวะยกที่ต่อจากนับที่ 2 และ 4 เท่านั้น และเมื่อเน้นจังหวะตกของนับที่ 2 และ 4 มากกว่า จังหวะยกที่ต่อจากนับที่ 2 และ 4 ก็จะมาช้าลง และเคลื่อนเข้าไปใกล้กับนับที่ 1 และ 3 มากขึ้นด้วย ซึ่งก็คือการหน่วงนั่นเอง


ข้อสังเกตในการเล่นกรูฟแบบ Swing/Shuffle
                การเล่นแบบมีกรูฟนั้น มีการเน้นจึงทำให้เกิดการหน่วง ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการทำให้เราเร่งจังหวะได้ ข้อสำคัญในการเล่นแบบนี้ คือ ต้องรักษาความเร็วในการเล่นไว้ให้ได้ อย่าเร่งจังหวะ อาจใช้เครื่องเคาะจังหวะ (Metronome) ในการช่วยฝึกให้ไม่เร่งจังหวะได้

Metronome  เครื่องเคาะจังหวะ


Broken Chord กับ Ukulele

การเล่นคอร์ดแบบเกา (Broken Chord)
                 การเล่น Broken Chord คือ การเล่นประสานเสียงแบบหนึ่ง ปกติคอร์ดที่เราเล่นจะมีโน้ตอยู่หลายตัวด้วยกัน ก็คือโน้ตของแต่ละสายเวลาที่เราจับคอร์ด เวลาเราเล่นก็ใช้นิ้วดีดทีละสาย ซึ่งการเล่นทีละสายก็คือการเล่น ปิ๊กกิ้ง (Picking) อย่างหนึ่งนั่นเอง แต่จริงๆการเลือกเล่นทีละสายก็มีอีกหลายแบบด้วยกัน การเล่นที่เราเรียกว่า Broken Chord จะมีลักษณะคล้ายๆการเกา หรือเรียกว่า การเกาสาย นั่นเอง

หลักการเกาสายเบื้องต้น
                 การเกาสายอูคูเลเล่ที่มีอยู่ 4 สายนั้น เบื้องต้นเราใช้เพียง 2 นิ้วก่อน คือ นิ้วโป้งและนิ้วชี้ของมือขวา เริ่มต้นเกาสาย ให้เราเอามือไว้ที่ตำแหน่งเหนือสายบริเวณช่องเสียง อาจใช้นิ้วก้อยมาช่วย โดยค้ำไว้ที่ไม้หน้าใต้สาย นิ้วโป้งจะใช้เล่นสาย 3 และ 4 ส่วนนิ้วชี้จะเล่นสาย 1 และ 2 ดังนั้นนิ้วโป้งจะดีดลง และนิ้วชี้จะดีดขึ้น บริเวณของนิ้วที่ใช้เล่นสาย คือ บริเวณอุ้งนิ้ว หรือหากใครมีเล็บก็ใช้เล็บ

วิธีฝึกเกาสาย
                 ในการฝึกเกาสายเบื้องต้น เราจะใช้แพทเทิร์นดีดสลับแบบจากด้านในออกด้านนอก หรือ เป็นการดีดจากสายเสียงที่ต่ำที่สุดไปยังสายเสียงที่สูงที่สุด โดยให้การดีดแต่ละครังแทนจังหวะตกและยก คือดีดสาย 3 ด้วยนิ้วโป้งก่อน ตามด้วยสาย 2 ด้วยนิ้วชี้ สาย 4 ด้วยนิ้วโป้ง และสุดท้ายที่สาย 1 ด้วยนิ้วชี้ เมื่อวนครบ 2 ครั้งตามลำดับ ก็จะได้ 1 ห้องพอดี 


แพทเทิร์นการเกาสายแบบอื่น
                  การนำการเกาสายแบบ Broken Chord ไปใช้ เป็นเช่นเดียวกับการสตรัม หากเราทำในทุกๆจังหวะตกและยก ก็อาจทำให้ฟังดูน่าเบื่อ เราจึงต้องสร้างแพทเทิร์นการเล่นแบบ Broken Chord ขึ้น  ซึ่งจะคล้ายกับการเล่น Strumming Pattern นั่นเอง โดยในการเริ่มเล่นแบบนี้ให้เราตัดจังหวะตกของนับที่ 3 และจังหวะยกของนับที่ 4 ออก เป็นการเล่น 1 ห้อง


ข้อสังเกตในการเล่นแบบ Broken Chord 
                 การเล่น Broken Chord เป็นการเล่นแบบเสียงประสาน ถึงแม้เราจะไม่ได้เล่นเสียงของคอร์ดพร้อมกัน แต่ที่สำคัญคือต้องมีช่วงเวลาที่เสียงประสานกันอย่างน้อย 2 เสียง หรือ 1 คู่ จึงจะนับเป็นการเล่นเสียงประสาน ดังนั้นเวลาที่เล่น ต้องไม่ให้นิ้วไปหยุดสาย เราต้องปล่อยให้สายสั่น และทำให้เกิดเสียงค้างไว้ตลอด จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญมากค่ะ 



เทคนิคการชังค์

เทคนิคการชังค์ (Chunk Technique)
             การชังค์ คือ การจำลองเสียงกลองสแนร์ การเล่นอูคูเลเล่นั้นเป็นแบบเสียงประสาน โดยเลียนแบบเสียงของเครื่องดนตรีประกอบจังหวะไปด้วย ซึ่งก็คือกลอง เพราะกลองคือตัวกำหนดจังหวะในดนตรีสากล กลองนันหลักๆจะประกอบไปด้วยเสียงเบสดรัม (Bass Drum) หรือกระเดื่องที่ใช้เท้าเหยียบเครื่องตี และเสียงสแนร์ (Snare) หรือกลองแต๊กที่ใช้ไม้ตี การจะทำให้เสียงอูคูเลเล่เลียนแบบเสียงกลองได้ดีมากขึ้น เราก็จะใช้การชังค์ (Chunk) ซึ่งเป็นการเล่นแบบ Percussive คือเป็นเสียงจังหวะอย่างเดียว ไม่มีเสียงทำนองหรือเสียงประสานออกมามากนัก

วิธีฝึกการชังค์
             การชังค์นั้นเราจะต้องทำ 2 สิ่งตามลำดับ คือ การสตรัม (Strum) และการหยุดสาย (Mute) โดยให้ระยะเวลาระหว่างการทำสองอย่างนี้เร็วที่สุด คือ เมื่อสตรัมลงไปแล้วให้ใช้มือหยุดสายเลยทันทีนั่นเอง ในการหยุดสายอาจใช้ฝ่ามือบริเวณโคนนิ้วโป้ง หรือ จะเป็นตรงอุ้งมือบริเวณใต้นิ้วก้อยก็ได้ ฝึกชังค์ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้เสียงที่ชัดเจน

การนำการชังค์ไปประยุกต์ใช้
             ตามที่กล่าวข้างต้น การสตรัมก็คือ การเลียนแบบเสียงกลอง คราวนี้เมื่อเราชังค์ได้แล้วให้เอามาใช้กับ Strumming Pattern ของเรา ให้เหมือนเสียงกลองมากขึ้น โดยนำการชังค์ไปใส่ไว้ที่จังหวะตกในนับที่ 2 ทีนี้เราก็อาจจะนับตามว่า  ลง Chunk ขึ้น ขึ้น ลง  คล้ายกับเสียงว่า  ตึก โป๊ะตึก ตึกตึก หรืออาจจะใส่ไว้ในนับที่ 4 แล้วเพิ่มจังหวะยกหลังนับที่ 4 เข้าไปเป็น  ลง Chunk ขึ้น ขึ้น Chunk ขึ้น หรือ ตึก โป๊ะตึก ตึกโป๊ะตึก  ลองดูแล้วฝึกตาม แล้วเราจะสามารถนำไปใช้กับเพลงได้เลย

ข้อสังเกตในการเล่นเทคนิคชังค์
            การเล่นชังค์นั้นเป็นการเล่นเทคนิค คือ สิ่งที่ช่วยเพิ่มสีสันให้กับเพลง แต่ว่าไม่ได้จำเป็นต้องชังค์ตลอดเวลา เราอาจจะทำบ้าง ไม่ทำบ้างก็ได้นะ