วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการชังค์

เทคนิคการชังค์ (Chunk Technique)
             การชังค์ คือ การจำลองเสียงกลองสแนร์ การเล่นอูคูเลเล่นั้นเป็นแบบเสียงประสาน โดยเลียนแบบเสียงของเครื่องดนตรีประกอบจังหวะไปด้วย ซึ่งก็คือกลอง เพราะกลองคือตัวกำหนดจังหวะในดนตรีสากล กลองนันหลักๆจะประกอบไปด้วยเสียงเบสดรัม (Bass Drum) หรือกระเดื่องที่ใช้เท้าเหยียบเครื่องตี และเสียงสแนร์ (Snare) หรือกลองแต๊กที่ใช้ไม้ตี การจะทำให้เสียงอูคูเลเล่เลียนแบบเสียงกลองได้ดีมากขึ้น เราก็จะใช้การชังค์ (Chunk) ซึ่งเป็นการเล่นแบบ Percussive คือเป็นเสียงจังหวะอย่างเดียว ไม่มีเสียงทำนองหรือเสียงประสานออกมามากนัก

วิธีฝึกการชังค์
             การชังค์นั้นเราจะต้องทำ 2 สิ่งตามลำดับ คือ การสตรัม (Strum) และการหยุดสาย (Mute) โดยให้ระยะเวลาระหว่างการทำสองอย่างนี้เร็วที่สุด คือ เมื่อสตรัมลงไปแล้วให้ใช้มือหยุดสายเลยทันทีนั่นเอง ในการหยุดสายอาจใช้ฝ่ามือบริเวณโคนนิ้วโป้ง หรือ จะเป็นตรงอุ้งมือบริเวณใต้นิ้วก้อยก็ได้ ฝึกชังค์ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้เสียงที่ชัดเจน

การนำการชังค์ไปประยุกต์ใช้
             ตามที่กล่าวข้างต้น การสตรัมก็คือ การเลียนแบบเสียงกลอง คราวนี้เมื่อเราชังค์ได้แล้วให้เอามาใช้กับ Strumming Pattern ของเรา ให้เหมือนเสียงกลองมากขึ้น โดยนำการชังค์ไปใส่ไว้ที่จังหวะตกในนับที่ 2 ทีนี้เราก็อาจจะนับตามว่า  ลง Chunk ขึ้น ขึ้น ลง  คล้ายกับเสียงว่า  ตึก โป๊ะตึก ตึกตึก หรืออาจจะใส่ไว้ในนับที่ 4 แล้วเพิ่มจังหวะยกหลังนับที่ 4 เข้าไปเป็น  ลง Chunk ขึ้น ขึ้น Chunk ขึ้น หรือ ตึก โป๊ะตึก ตึกโป๊ะตึก  ลองดูแล้วฝึกตาม แล้วเราจะสามารถนำไปใช้กับเพลงได้เลย

ข้อสังเกตในการเล่นเทคนิคชังค์
            การเล่นชังค์นั้นเป็นการเล่นเทคนิค คือ สิ่งที่ช่วยเพิ่มสีสันให้กับเพลง แต่ว่าไม่ได้จำเป็นต้องชังค์ตลอดเวลา เราอาจจะทำบ้าง ไม่ทำบ้างก็ได้นะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น